ประวัติโรงเรียน

เส้นทางประวัติศาสตร์ของกุลสตรีวังหลัง สู่ วัฒนาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ. 2367

  • พ.ศ. 2367 - 2394 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

2371 – 2374

  • กุตสลาฟ Netherlands Society มาบางกอก

2371 – 2475

  • ศาสนาจารย์ ทอมลิน คณะ London Mission Society

2374

  • ศาสนาจารย์เดวิด เอบีล คณะ American Board of Commissioners for Foreign Missions (ABCFM) มาสำรวจบางกอก และตั้งคณะ ABCFM ที่บางกอก

2376

  • ศาสนาจารย์ เทเลอร์ โจนส์ American Baptist (จากพม่า) มาถึงบางกอก เริ่มทำงาน

2376

  • สนธิสัญญาระหว่างสหรัฐอเมริกากับสยามเริ่มขึ้น

2377

  • วันที่ 24 กรกฎาคม ศจ.วิลเลียม พี. บูเอล ABCFM มาถึงบางกอก

2378

  • หมอบรัดเลย์ มาในคณะ ABCFM ถึงบางกอกวันที่ 18 กรกฎาคม ใช้เวลาเดินทาง 1 ปี 13 วัน มาพร้อมเครื่องพิมพ์ เปิดโอสถศาลาที่วัดเกาะ ถูกไล่ให้ออกภายใน 5 วัน จึงย้ายไปอยู่ในหมู่บ้านคาทอลิก ที่กุฎีจีน

2378

  • โรบินสันไปอยู่กับครอบครัวโปร์ตุเกส

2378

  • จอห์นสันอยู่บนเรือนแพหน้าโบสถ์ซานตาครูส

2378

  • เริ่มการพิมพ์ในสยาม โดยหมอบรัดเลย์

2379

  • คณะแบพติสต์ เริ่มใช้การพิมพ์

2380

  • แหม่มบรัดเลย์สอนเด็กผู้หญิงที่บ้านของท่าน

2380

  • 13 มกราคม หมอบรัดเลย์ ตัดแขนพระที่วัดประยูรฯ เป็นการผ่าตัดครั้งแรกในสยาม

2380

  • คณะแบพติสต์เปิดคริสตจักรขึ้น ปัจจุบันคือคริสตจักรไมตรีจิต เป็นคริสตจักรแรกในสยาม

2381

  • พระยาพระคลังสร้างบ้านสองหลัง อีกฝั่งหนึ่งของคลอง หน้าวัดประยูรฯ ให้หมอบรัดเลย์เช่า เดือนละ 65 บาท อยู่ที่นี่ 14 ปี

2382

  • พระนั่งเกล้าฯ ให้บรัดเลย์พิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่น 9,000 แผ่นเป็นเอกสารชิ้นแรกของรัฐบาลที่พิมพ์จากโรงพิมพ์

2382

  • รัชกาลที่ 3 ประทานเงินเป็นรางวัล 400 บาท ให้หมอบรัดเลย์ที่สอนหมอหลวงปลูกฝี ส่วนหมอหลวงได้คนละ 200 บาท

2383

  • ศาสนาจารย์วิลเลียม บูเอลล์ คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมาถึง

2383

  • ศาสนาจารย์เจสซี แคสแวลล์ (ABCFM) มาถึง ท่านเป็นพระอาจารย์สอนภาษาอังกฤษให้เจ้าฟ้าใหญ่

2383

  • ผลิตวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษสำเร็จครั้งแรก โดยหมอบรัดเลย์

2383

  • เริ่มงานเพรสไบทีเรียนมิชชันในประเทศไทย

2387

  • เรือกลไฟลำแรกมาถึงสยาม

2388

  • หมอแคสเวลล์ ถวายอักษรภาษาอังกฤษแด่เจ้าฟ้าใหญ่และพระสหายที่วัดบวรฯ

2389

  • ABCFM ย้ายไปจีน

2390

  • ศาสนาจารย์สตีเว่น แมททูน และภรรยา กับ ดร.ซามูแอล อาร์ เฮาส์ คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมาถึง

2391

  • หมอแคสแวลล์ตาย เจ้าฟ้าใหญ่เสด็จมางานศพ พระราชทานผ้าไหมขาว 1 ม้วนให้ภรรยา

2392

  • เกิดอหิวาตกโรคใหญ่

2392

  • ABCFM ปิดสำนักงานในสยามอย่างถาวร

2392

  • ตั้ง First Presbyterian Church (ในพวกฝรั่ง)

2393

  • AMA เริ่มงานในสยาม

2394

  • สำนักงานของคณะแบพติสต์ไฟไหม้

2394

  • วันที่ 3 เมษายน พระนั่งเกล้าฯสวรรคต
  • พ.ศ. 2394 – 2411 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

2394

  • กรกฎาคม รัชกาลที่ 4 พระราชทานที่หลังวัดแจ้งให้คณะเพรสไบทีเรียน สร้างสำนักงานและบ้าน

2394

  • รัชกาลที่ 4 โปรดให้แหม่มมิชชันนารีสอนหญิงในพระราชวังชั้นใน โดยมีพระบรมราชโองการให้เชิญสตรีอเมริกัน 3 ท่าน คือ มิสซิสแมททูน มิสซิสโจนส์ และมิสซิสเฮ้าส์ เข้าไปสอนสตรีฝ่ายใน

2394

  • จอห์น เทเลอร์ โจนส์ ตาย

2394

  • รัชกาลที่ 4 พระราชทานที่ดินให้ AMA Mission (หมอบรัดเลย์) หลังป้อมวิชัยประสิทธิ์

2395

  • วันที่ 13 กันยายน แมททูนเปิดโรงเรียนชายแห่งแรกในหมู่บ้านมอญ ถือว่าเป็นวันเกิดของ บีซีซี

2395

  • วันที่ 30 กันยายน หมอเหาเปิดโรงเรียนประจำชายที่ข้างวัดแจ้ง สำหรับเด็กจีน ให้ซินแสกีเอง ก๊วยเซียน เป็นผู้ดูแล มีนักเรียน 27 คน

2395

  • ธันวาคม หมอแมททูนย้ายโรงเรียนไปรวมกับของหมอเหา (เปิดได้ 4 เดือน)

2395

  • พระจอมเกล้าฯ อนุญาตให้หมอบรัดเลย์ ใช้ที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน 22 ตารางวา สร้างบ้าน 3 หลัง ที่ปากคลองบางหลวง หลังป้อมวิชัยประสิทธิ์

2396

  • 29 กรกฎาคม รัชกาลที่ 4 พระราชทานที่ดินที่ถนนตก (ข้างโรงงานยาสูบ) ให้เป็นสุสานโปรเตสแตนท์ ก่อนหน้านั้น ศพของฝรั่งต้องขออนุญาตฝังที่สุสานซึ่งอยู่ตอนเหนือของ กงศุลโปรตุเกส ทรงฝากเงิน 1,000 ดอลลาร์ไปกับแมททูน ให้แหม่มแคสแวลล์ที่สหรัฐ ทรงฝากเงิน 500 ดอลลาร์ไปกับหมอเหา ให้แหม่มแคสแวลล์ที่สหรัฐ ทรงสร้างอนุสาวรีย์บนหลุมศพของแคสแวลล์

2398

  • หมอเฮาส์แต่งงานกับแฮเรียต เอ็ม เพททิต

2399

  • หมอเฮาส์กลับมาถึงสยาม พร้อมภรรยา

2399

  • หมอมะตูนเป็นกงศุลอเมริกันคนแรก

2400

  • โรงเรียนหมอเหามีนักเรียนมากขึ้น จึงย้ายโรงเรียนไปที่สำเหร่ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งคณะเพรสไบทีเรียนซื้อไว้โดยหมอมะตูน

2401

  • ศจ. แมคกิลวารี และ ศจ.วิลสันพร้อมภรรยามาถึงสยาม ทั้งสองท่านเป็นเพื่อนร่วมห้อง หอพักเดียวกัน ได้รับแรงบันดาลใจจากหมอเฮาส์ที่ปรินซ์ตัน

2402

  • โรงเรียนชายที่สำเหร่รับนักเรียนหญิง 1 คน

2402

  • วันที่ 3 สิงหาคม นายชื่นเป็นคนไทยที่รับบัพติสมาคนแรก หลังจากที่มิชชันนารีได้เริ่มต้นงานมา 31 ปี มีมิชชันนารีฝังอยู่ในสุสาน 12 คน (ไม่นับเด็กๆ) ต่อมานายชื่นได้เป็นครูใหญ่โรงเรียนชายสำเหร่เมื่อนายกีเอง ก๊วยเซียนตายแล้ว

2403

  • โรงเรียนชายสำเหร่เปลี่ยนการสอนจากภาษาจีนเป็นภาษาไทย เพราะซินแสกีเองตาย ครูใหญ่คนใหม่เป็นคนไทย

2403

  • ดร. ซามูเอล จี แมคฟาร์แลนด์มาถึงบางกอก

2403

  • รัชกาลที่ 4 เสด็จเพชรบุรี 4 ครั้ง สร้างวังและวัด ขุนนางชั้นผู้ใหญ่เรียกร้องให้มิชชันนารีไปเพชรบุรี สอนลูกชายเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ

2404

  • แมคกิลวารี (เพิ่งแต่งงานกับลูกสาวหมอบรัดเลย์) และแมคฟาร์แลนด์ (สามีภรรยา) เดินทางไปเริ่มงานที่เพชรบุรี

2404

  • เปิดสถานีมิชชั่นที่เพชรบุรี

2409

  • ทรงอนุญาตให้เปิดสถานีมิชชั่นที่เชียงใหม่

2411

  • งานคณะอเมริกันแบ็พติสต์ในสยามหยุด
  • พ.ศ. 2411 – 2453 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

2413

  • ซื้อที่ดินวังหลัง ศจ. เอส ซี ยอร์จ เป็นผู้ดำเนินการสร้าง แต่ไม่สำเร็จเพราะหมดงบประมาณ แล้วกลับสหรัฐด้วยเหตุผลทางสุขภาพ แหม่มแฮเรียต เฮาส์ได้หาเงินจากคริสตจักรในสหรัฐอีก 3,000 เหรียญ มาสร้างจนเสร็จ

2413

  • ประกาศเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

2417

  • วันที่ 13 พฤษภาคม แหม่มแฮเรียตเปิดสอนโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง

2418

  • มีนักเรียนวังหลังอยู่ 15 คน Miss Arabella Anderson มาสอนเป็นคนแรกในโรงเรียนวังหลัง เนื่องจากแหม่มเฮาส์เป็นที่รู้จักกันดี ทั้งในหมู่เจ้านายและข้าราชการ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (แสง ผู้เป็นต้นตระกูลแสง-ชูโต) มอบธิดา 4 คน เข้าศึกษาที่วังหลังนี้ เลขประจำตัว 14 15 16 17 ชื่อ เยื้อน เล็ก สิน ลอย

2418

  • Miss Anderson แต่งงานกับ Rev. H.B. Noyes, D.D. เป็นหมอจากจีน

2418

  • มิส เอส ดี กริมสะเต็ด มาสอนที่วังหลัง มีนักเรียน 20 คน

2420

  • แหม่มเฮาส์ สุขภาพทรุดโทรมมาก ท่านและหมอเฮาส์จึงต้องกลับสหรัฐอเมริกา หลังจากหมอทำงานที่สยาม 30 ปี ท่านได้พานายกร อมาตยกุล และอาจารย์บุญต๋วน บุญอิตไปเรียนที่อเมริกาด้วย

2420

  • Miss Jennie Koresen มาสอนที่วังหลัง Miss Jennie แต่งงานกับ Rev. James McCauley D.D.

2421

  • พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯมีพระบรมราชโองการเรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา

2421

  • Miss Belle Caldwel มาเป็นอาจารย์ใหญ่ มีนักเรียน 29 คน มีค่าใช้จ่าย $490.00 มีรายได้ $40.00 Miss Caldwel แต่งงานกับ Rev. J. Culberton

2421

  • คริสตจักรที่สอง ได้ตั้งขึ้นที่ ร.ร.วังหลัง

2425

  • งานฉลองครบรอบ 100 ปีที่สถาปนากรุงเทพเป็นราชธานี ในเดือนเมษายน โรงเรียนวังหลังได้ร่วมออกแสดงนิทรรศการการศึกษาของเด็กไทย และตั้งแสดงงานฝีมือในร้านของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี คือสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

2428

  • Miss Mary E. Hartwell และ Miss Auara A. Olmstead มาบริหารช่วงที่ไม่มีอาจารย์จากมิชชั่น

2428

  • แม่ต๋วน คุณแม่ของอาจารย์บุญต๋วน บุญอิต เป็นทั้งแม่บ้านและเป็นครู รับผิดชอบโรงเรียนวังหลัง

2428

  • นางต๋วนลาออก นักเรียนรักและเคารพแม่ต๋วนมาก นักเรียนรุ่นโตจึงลาออกตามไปด้วย

2428

  • แหม่มโคลขอให้ครูญ่วน เตียงหยก และภรรยามาช่วยที่วังหลัง Miss Marry S. Handerson มาเป็นผู้ช่วยแหม่มโคล

2428

  • มีการปรับปรุงห้องเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอนเต็มที่ เพราะมีการเก็บค่าเล่าเรียนคนละ 5 บาทต่อเดือน เทอมแรกมีนักเรียนเหลืออยู่ 16 คน มีแม่สร้อยเป็นครูผู้ช่วย Miss Olmstead

2430

  • Miss Van Emmon มาเป็นอาจารย์ใหญ่ที่โรงเรียนวังหลัง ต่อมาได้แต่งงานกับ Rev. Christian Berger

2431

  • แม่สร้อยแต่งงานกับอาจารย์บุญยี่ บุญอิต ย้ายไปอยู่เชียงใหม่

2431

  • แม่ทิมจบแล้วเป็นครู แม่สุวรรณ แม่แช่ม แม่พลอย แม่เต่า มาร่วมเป็นครูที่โรงเรียนวังหลังด้วย

2431

  • กรมหมื่นนราธิประพันธ์พงษ์ได้ทรงอุปถัมภ์โรงเรียน

2432

  • กรมหมื่นนราธิประพันธ์พงษ์ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่พอพระทัยโรงเรียนมากถึงกับโปรดให้หม่อมเจ้าหญิงพรรณพิมล พระธิดาองค์ใหญ่มาศึกษาร่วมคณะกับบุคคลสามัญชน (เลขประจำตัว 131)

2433

  • Miss S. E. Parker และ Miss L.J. Cooper มาช่วยเสริมครูในโรงเรียนวังหลัง Miss Cooper สอนอยู่แล้วไปเปิดโรงเรียนที่นครชัยศรี

2434

  • สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ส่ง Edwin McFarland พี่ชายของพระอาจวิทยาคม ไปศึกษาระบบการศึกษาของอเมริกา

2441

  • รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำให้ผู้หญิงตื่นตัวขึ้นอย่างมาก มีการเปิดสอนโรงเรียนของผู้หญิงไปทั่วกรุงเทพ วังหลังเป็นสำนักส่งนักเรียนจบหลักสูตรไปเป็นครู ทั้งโรงเรียนราษฎร์ และโรงเรียนรัฐบาลที่เปิดใหม่ๆเกือบทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ถ้าใครที่จบจากวังหลัง จะถูกตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ในโรงเรียนสตรีทันที โรงเรียนราชินีกับวังหลังจึงร่วมประสานงานกัน ในการอำนวยการจัดหาครูไปสอนที่โรงเรียนหญิงทั่วประเทศ

2446

  • Miss Edna Bruner ผู้เชี่ยวชาญศิลปะ มาร่วมงานที่วังหลัง 2 ปี ต่อมา ได้แต่งงานกับ Dr. L.C. Bulkley ย้ายไปอยู่จังหวัดตรัง

2447

  • นางสาวตาด นางสาวลิ้นจี่ ชี นางสาวทองสุก และนางสาวแช่ม สอบผ่านข้อสอบของนักเรียนชาย

2448

  • Miss Magaret C. McCord มาร่วมสอนที่วังหลัง

2448

  • นางสาวอรุณ บุตรีของนายเทียนสั่ง ประทีปเสน (คุณหญิงอรุณ เมธาธิบดี) ไปเรียนต่อวิชาอนุบาลที่ Normal Training College of Connecticut ตามแบบของ Froebel อีกสามปีต่อมา ได้กลับมาตั้งต้นสอนอยู่ในโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง โรงเรียนนี้จึงเป็นโรงเรียนแรกที่มีการสอนวิชาอนุบาล และคุณหญิงอรุณเป็นหญิงคนแรกที่ได้สอนวิชาอนุบาลในประเทศไทย

2451

  • Miss Bertha Blount มาร่วมงานที่วังหลัง ช่วงนี้โรงหวยที่รัฐบาลได้เคยให้เปิดเป็นบ่อน รัชกาลที่ 5 ได้ทรงยกเลิกการพนันทั้งหมด บ่อนใหญ่โตนี้ชาวบ้านเอาไว้เลี้ยงหมู แหม่มโคลเช่า และล้างขี้หมูมาทำเป็นโรงเรียน และเป็นที่จ่ายยาให้ชาวบ้านในละแวกนั้นด้วย นอกจากนี้ “อุทิศสถาน” นี้ยังเป็นโรงครัวที่ Miss McCord รับผิดชอบในการทำโภชนาการให้กับนักเรียน และสังคมที่วังหลังด้วย
  • พ.ศ. 2453 – 2468 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

2453

  • มีพิธีอภิเษกสมรสของรัชกาลที่ 6 กับหม่อมเจ้าหญิงวรรณวิมล พระธิดาในกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (เลขประจำตัว 435) มีพระราชนิยมให้สตรีนุ่งผ้าถุง และไว้ผมยาวเกล้ามวย

2453

  • Miss Elsie Bates มาช่วยสอนที่วังหลัง ช่วงนี้โรงเรียนมีชื่อเสียงและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ดี มีการขยายห้องเรียน หอพัก โรงอาหาร เสริมชายฝั่งท่าจอดเรือ ซื้อที่ดินต่อไปด้านหลัง โดยมีข้าราชการและประชาชนสยามช่วยกันบริจาค

2454

  • Miss McCord เริ่มใช้เตาไฟฟ้าทำขนมปัง

2454

  • ผู้สร้างหนัง Richard Burton Holmes Traveloques ใช้โรงเรียนวังหลังเป็นสถานที่ในภาพยนตร์

2454

  • Miss Alice J. Ellinwood เป็นอาจารย์ที่คอยตรวจตารางสอนที่ครูทุกคนจะต้องเตรียมไว้สอนในวันรุ่งขึ้น เพื่อให้โรงเรียนมีมาตรฐานที่สูงสุด

2455

  • เกิดน้ำท่วมกรุงเทพ แหม่มโคลทำข้าวตังแจกชาวบ้าน

2457

  • สงครามโลกครั้งที่ 1 สยามได้เข้าร่วมสงคราม โรงเรียนวังหลังเปิดร้านขายน้ำชา เพื่อหารายได้ ส่งไปบรรเทาทุกข์ ให้สภากาชาดฝรั่งเศส

2457

  • ปีนี้แหม่มโคลซื้อที่ดินใหม่ 25 ไร่ ริมคลองแสนแสบ ที่แปลงนี้แบ่งออกเป็นสวนผลไม้ สวนไม้ดอก ไม้ประดับและที่ก่อสร้างอาคาร เพราะที่ดินปลูกอาคารนี้ต้องยกระดับดินให้สูงขึ้นถึง 4 ฟุต เพื่อกันน้ำท่วม มิตรสหายส่งทั้งผลไม้และไม้ดอกมามากมาย มีหน่อมะพร้าว 200 9น กิ่งมะม่วงตอน 100 ต้น หน่อต้นมะฮอกกานี 50 ต้น หน่อกล้วย 100 กว่าหน่อ นอกจากนั้นมีมะนาว ส้มโอ ชมพู่ อีกมากมาย มีแพทย์มอบต้นควินินให้ 5 ต้น แต่เนื่องจากผู้บริหารไม่ค่อยรู้เรื่องต้นไม้อย่างถ้วนทั่ว บางต้นจึงหายไป

2457

  • ศิษย์เก่าและผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาคเงินถึง 75,000 บาท เพื่อก่อสร้างตึกเรียน

2458

  • โรงเรียนเพิ่มการสอนชั้นมัธยมปีที่ 7 นักเรียนที่จบ จะได้รับ Diploma ของโรงเรียน เนื่องจากในสมัยนั้น โรงเรียนสตรีตามหลักสูตรของรัฐบาล เปิดสอนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6 ถือว่าสำเร็จประโยคมัธยมบริบูรณ์(หญิง) แต่โรงเรียนเห็นว่า ชั้นมัธยมปีที่ 6 ยังไม่เพียงพอ จึงเปิดชั้นเรียนให้สูงขึ้นไปอีก

2462

  • 27 กันยายน พิธีวางศิลาหัวมุม เพื่อเริ่มการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ซึ่งออกแบบมาจากมนิลา Mr. C.A. Steele ควบคุมการก่อสร้าง

2463

  • การก่อสร้างหอพักของโรงเรียนวัฒนาแล้วเสร็จ ค่าก่อสร้างได้รับบริจาคจากคริสตจักรในสหรัฐอเมริกา

2463

  • พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชทาน 1,000 บาทให้แก่วัฒนาวิทยาลัย

2463

  • พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระราชทาน 20 ชั่งให้แก่กุลสตรีวังหลัง และต่อมาพระราชทานเพิ่ม 2,000 บาท

2464

  • ย้ายจากโรงเรียนวังหลังมาที่บางกะปิ เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

2465

  • พฤษภาคม คริสตจักรที่ 5 วัฒนา เริ่มนมัสการเป็นครั้งแรก โดยใช้ห้องประชุมของโรงเรียนเป็นสถานที่นมัสการ ศิษยาภิบาลคนแรกของคริสตจักรนี้ คือ ศจ. กิมเฮง มังกรพันธุ์

2466

  • เมษายน Miss Edna Sarah Cole (แหม่มโคล) เกษียณอายุ และเดินทางกลับสหรัฐอเมริกา

2466

  • มิสเบอร์ทา เบล๊านท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

2467

  • มิสเบอร์ทา เบล๊านท์ ลาออกเพราะแต่งงานกับพระอาจวิทยาคม
  • พ.ศ. 2468 – 2477 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

2468

  • มิสอลิซ เจ เอลลินวูด ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ในสมัยของท่าน โรงเรียนเริ่มมีการหยุดวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์ครึ่งวัน

2468

  • โรงเรียนขยายการสอนขึ้นอีก 1 ชั้น เป็นมัธยมปีที่ 8 ผู้ที่จบชั้นนี้ จะได้รับ Diploma ของโรงเรียน

2470

  • นางอาจวิทยาคม (Mrs. Bertha Blount McFarland) เป็นประธานของคณะสตรีในพระนคร

2470

  • งานฉลองร้อยปีโปรเตสแตนท์ในประเทศไทย ที่วังสราญรมย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7

2471

  • วัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนหญิงโรงเรียนแรกที่ส่งนักเรียนเข้าสอบไล่มัธยมบริบูรณ์ชาย นักเรียน 12 คน จากจำนวน 13 คนที่ส่งไป สอบได้

2475

  • 28 มกราคม ได้มีพิธีเปิดตึกนีลสันเฮส์ (หลังเดิม) สร้างจากเงินบริจาค กองทุนมรดกหมอเฮส์
  • พ.ศ. 2477 – 2489 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

2477

  • ก่อตั้งสภาคริสตจักร และมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยนางอาจวิทยาคมเป็นเลขาธิการคนแรก

2483

  • ตุลาคม แหม่มเอลลินวูดป่วยด้วยโรคลำไส้ ต้องบินกลับสหรัฐอเมริกาโดยด่วน แหม่มคิลแพททริค เป็นอาจารย์ใหญ่

2484

  • สงครามมหาอาเซียบูรพา วันที่ 10 ธันวาคม นายทหารญี่ปุ่นมาแจ้งให้ทุกคนออกจากโรงเรียน ขณะนั้นมีนักเรียนเหลืออยู่ 26 คน มิสคิลแพททริค อาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น มอบให้ น.ส.อายะดา กีรินกุล เป็นผู้อำนวยการ น.ส.ประพิธ กุวานนท์ เป็นครูใหญ่และผู้จัดการ กองทัพญี่ปุ่นใช้โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงพยาบาลทหาร

2484

  • วันที่ 21 ธันวาคม หลวงสำเร็จวรรณกิจ หัวหน้ากองโรงเรียนราษฎร์ในขณะนั้น พาคณะโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยไปอาศัยที่โรงเรียนสตรีภาณุทัต บริเวณวังบูรพาภิรมย์

2485

  • กุมภาพันธ์ ด้วยความอนุเคราะห์จากหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ท่านได้อนุญาตให้โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ใช้สถานที่ของโรงเรียนยกหมิ่นกงสวย เปิดดำเนินการเป็นโรงเรียนประจำ

2485

  • 14 กรกฎาคม เป็นวันเกิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ท่านได้มอบเงิน 10,000 บาทให้แก่โรงเรียนวัฒนา เพื่อซ่อมแซมให้เป็นโรงเรียนประจำ ในปีนี้นักเรียนจบ 17 คน มี น.ส.รัชนีบูล ธิดาของจอมพล ป. รวมอยู่ด้วย

2486

  • 1 เมษายน โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ได้รับการรับรองวิทยฐานะ

2488

  • วันที่ 7 ธันวาคม สภาคริสตจักรส่งโทรเลข ขอให้มิชชันนารีกลับมา

2489

  • กุมภาพันธ์ มิชชันนารีกลับประเทศไทย ศจ.พ่วง อรรฆภิญญ์ได้รับเลือกเป็นนายกสภาคริสตจักรในประเทศไทย เมื่อสำรวจค่าเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามแล้ว คณะมิชชั่นปฏิเสธที่จะรับค่าปฏิกรรมสงคราม

2489

  • กุมภาพันธ์ พอล เอกิ้น อี ซี คอร์ต มาถึงพร้อมยา 71 หีบ และส่งตามมาอีก 19 เที่ยวเรือ มูลค่า 250,000 ดอลลาร์

2489

  • พฤษภาคม โรงเรียนย้ายกลับมาเปิดสอนที่เดิม
  • พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา รัชกาลปัจจุบัน

2499

  • อาจารย์ประพิธ กุวานนท์พ้นจากตำแหน่งผู้จัดการ คุณครูผิน หิตะศักดิ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ

2500

  • 16 สิงหาคม จัดพิธีเพรสไบทีเรียนสลายตัวขึ้นที่ห้องประชุมของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย โดยคณะเพรสไบทีเรียนมอบทรัพย์สินและบุคลากรทั้งหมดให้สภาคริสตจักร มูลค่าของทรัพย์สินซึ่งเป็นของคณะเพรสไบทีเรียนในประทเศไทยที่ได้มอบให้แก่สภาคริสตจักรนั้น มากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์

2500

  • อาจารย์อายะดา กีรินกุล หมดวาระการทำงานในตำแหน่ง Principal ซึ่งเป็นตำแหน่งของมิชชันนารี อาจารย์ประพิธ กุวานนท์ รับหน้าที่อาจารย์ใหญ่

2501

  • วันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1958 ทำพิธีวางศิลาหัวมุมของพระวิหารคริสตจักรวัฒนา โดยดร.ฮอเรส ไรเบิร์น และ ดร.เคนเน็ต อี.แวลส์ ซึ่งเป็นประธานบอร์ดโรงเรียน ในขณะนั้น ร่วมกับคณะธรรมกิจของคริสตจักร และกรรมการบริหารโรงเรียน ได้ขอ Dr.Amos Chang เป็นสถาปนิกออกแบบอาคารโบสถ์ และ ดร.เทเลอร์ เอ็ม.พอตเตอร์ (Dr.Taylor M. Potter) ซึ่งเป็นประธานคณะธรรมกิจในขณะนั้นเป็น ผู้ควบคุมการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1958 อาคารโบสถ์หลังนี้พร้อมด้วยอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ได้รับการ ถวายจากผู้ที่มีจิตศรัทธาหลายฝ่าย สิ้นค่าก่อสร้างประมาณเจ็ดแสนบาท ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาจากการที่ ดร.โทมัส เฮเวิร์ด เฮย์ส ( Dr.Thomas Heyward Hays) ได้แบ่งเงินส่วนหนึ่งให้แก่โรงเรียน มิสซิสแมคฟาร์แลนด์ ภรรยาพระอาจวิทยาคม ได้อุทิศเงินจำนวนหนึ่งเพื่อให้สร้างอนุสรณ์แด่พระอาจ และได้รวบรวมเงินทั้งส่วนที่เหลือจากการปลูกสร้าง อาคารโรงเรียนสมทบกับเงินถวายสุทธิทาน ฯลฯ พิธีมอบถวายโบสถ์ จัดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 โดยมีคุณครูตาด ประทีปเสน เป็นประธานในพิธี

2505

  • สร้างตึกเรียนชั้นประถม

2511

  • สร้างตึกเรียนเอนกประสงค์ 3 ชั้น (อาคารวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม)

2515

  • คุณครูผิน หิตะศักดิ์เกษียณอายุ อาจารย์ประพิธ กุวานนท์รับตำแหน่งผู้จัดการ

2517

  • สร้างอาคารศตวรรษานุสรณ์ เป็นอาคาร 3 ชั้น แทนตึก 1 (ตึกจูบิลี่) เนื่องจากตึก 1 ทรุดโทรมมาก

2517

  • อาจารย์วรรณดี คันธวงศ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน

2518

  • อาจารย์ประพิธ กุวานนท์ เกษียณอายุ อาจารย์วรรณดี คันธวงศ์เข้ารับงานในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ภิญโญ ณ นคร ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการโรงเรียน

2522

  • ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา

2524

  • สร้างหอสมุดปัญญาคาร เงินที่ใช้ก่อสร้างหอสมุดนี้ เป็นค่าเช่าที่ดินเพียงครั้งเดียว ที่ได้รับจากการให้โรงเรียนนานาชาติเช่าที่ดินประมาณ 25 ไร่ หลังจากนั้น โรงเรียนไม่เคยได้รับค่าเช่าที่ดินอีกเลย

2524

  • อาจารย์ภิญโญ ณ นคร เกษียณอายุ อาจารย์วรรณดี คันธวงศ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการโรงเรียนอีกตำแหน่งหนึ่ง

2527

  • อาจารย์ฉันทนา เทือกสุบรรณ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่

2528

  • ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 2

2528

  • อาจารย์วรรณดี คันธวงศ์ เกษียณอายุ อาจารย์เพ็ญเพ็ชร์ ณ นคร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการโรงเรียน

2530

  • สร้างอาคารเรียนระดับประถม (อาคารเอลลิน วูด)

2530

  • อาจารย์เพ็ญเพ็ชร์ ณ นคร เกษียณอายุ อาจารย์ฉันทนา เทือกสุบรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการโรงเรียน อาจารย์เสริมศรี ไชยเศรษฐ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่

2532

  • สร้างอาคารโภชนาการ

2533

  • สร้างโรงยิมวัฒนาสัมพันธ์

2536

  • อาจารย์ฉันทนา เทือกสุบรรณ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

2538

  • สร้างอาคารเรียนระดับอนุบาล (อาคารนีลสันเฮส์ เมมโมเรียล หลังใหม่)

2538

  • อาจารย์ฉันทนา เทือกสุบรรณเกษียณอายุ อาจารย์เสริมศรี ไชยเศรษฐ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์พรรณมหา วุฒิวโรภาสได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่

2539

  • โรงเรียนได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองคำพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ประเภทการขับร้องเพลงประสานเสียงยอดเยี่ยม จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย

2540

  • สร้างอาคารหอนอนนักเรียนมัธยม (อาคารประพิธ กุวานนท์)

2541

  • สร้างอาคารห้องพักบริกร

2541

  • วันที่ 5 ธันวาคม 2541 อาจารย์เสริมศรี ไชยเศรษฐ์ ผู้อำนวยการ, อาจารย์พรรณมหา วุฒิวโรภาส อาจารย์ใหญ่ และคณะครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย รวมจำนวน 15 คน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”

2542

  • ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา เป็นครั้งที่ 3

2542 – 2546

  • ทั้งสามระดับ ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ

2543

  • วันทื่ 5 ธันวาคม 2543 คณะครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จำนวน 27 คน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”

2545

  • วันที่ 20 ธันวาคม นางเสริมศรี ไชยเศรษฐ์ ผู้อำนวยการ และนางพรรณมหา วุฒิวโรภาส อาจารย์ใหญ่ ได้รับพระราชทานเครื่องหมายเชิดชูเกียรติและประกาศนียบีตร “ครูอาวุโส” ประจำปี ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

2546

  • วันที่ 5 ธันวาคม คณะครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จำนวน 10 คนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”

2547

  • สร้างอาคาร 130 ปี

2547

  • คณะนักร้องประสานเสียงโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติของประเทศรัสเซีย ร่วมงานมหกรรมขับร้องประสานเสียงนานาชาติ “Moscow Sound” ระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2547 ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย ได้รับรางวัล 4 รางวัลคือ รางวัลชนะเลิศการแสดงและการขับร้องเพลงประสานเสียง ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยการร้องเพลง “ลาวกระทบไม้” เพลงรำวงเมดเล่ย์ และเพลง “Sawaddee” รางวัลชนะเลิศการแสดงและการขับร้องเพลงประสานเสียงเพลงทั่วไป เพลงบังคับ “Sound the Trumpet” การแสดงและการขับร้องเพลงศาสนา หรือเพลงสรรเสริญพระเจ้า ได้รับเกียรติบัตรการแสดงยอดเยี่ยมจาก New Jerusalem Church

2550

  • คณะครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จำนวน 10 คน ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จตุตถดิเรกคุณาภรณ์” และจำนวน 5 คนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์”

2550

  • สร้างอาคารอาจารย์อายะดา กีรินกุล พิธีถวายอาคาร วันที่ 8 พฤศจิกายน

สมาคมศิษย์วังหลัง-วัฒนา

สมาคมศิษย์วังหลัง - วัฒนา

อาคารเอ็ดน่าโคล์อนุสรณ์ ในโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เลขที่ 67 ถนน สุขุมวิท 19 แขวงคลองเตยเหนือ เขต วัฒนา กรุงเทพฯ ​10110

ช่องทางการติดต่ออื่นๆ

wwaalumni.web@gmail.com
0-2254-2364
W.W.A. Together
@wwaa